ประวัติ ของ มาซายูกิ อูเอมูระ

เริ่มต้นการทำงาน

หลังที่เขาจบการศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากสถาบันเทคโนโลยีชิบะ ก็ได้เข้าทำงานกับทางบริษัทนินเท็นโดในปี ค.ศ. 1971[11][12]

ต่อมาเขาได้คิดค้นและพัฒนาต่อยอดเครื่องSuper Famicomเครื่องเกมคอนโซลรุ่นที่สองของนินเท็นโดที่เปิดตัวในปี ค.ศ. 1984 และสามารถทำยอดขายไปได้ราว 49 ล้านเครื่องทั่วโลก

ในปีเดียวกันเมื่อฮิโรชิ ยามาอุจิ ประธานบริษัทนินเท็นโดในขณะนั้น ประกาศแยกนินเท็นโด ออกเป็นแผนกวิจัยและพัฒนาแยกกัน และต่อเขาได้แต่งตั้ง อูเอมูระ ให้เป็นหัวหน้าฝ่ายของR&D2ซึ่งเป็นแผนกที่เน้นด้านฮาร์ดแวร์[13][14][15][16]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1981อูเอมูระได้รับโทรศัพท์จากยามาอุจิ ซึ่งขอให้เขาสร้าง“สิ่งที่ช่วยให้คุณเล่นเกมอาร์เคดบนทีวีที่บ้านได้” เขาและทีมงานของเขาเริ่มสร้างระบบที่สามารถรันเกมอาร์เคดยอดฮิตของนินเท็นโด อย่างเกมDonkey Kongโดยได้ร่วมมือกับRicoh[17] ต่อมาเปิดตัวในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1983 ซึ่งเป็นคอนโซล 8 บิตที่ใช้คาร์ทริดจ์ แบบเปลี่ยนได้[18]ในไม่ช้าก็ประสบความสำเร็จโดยขายได้ 2.5 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี ค.ศ. 1984[19]เนื่องจากวิดีโอเกมล่มในปี ค.ศ. 1984 เมื่อผู้บริโภคแทบไม่ไว้วางใจนินเท็นโด โดยคอนโซลเนื่องจากการควบคุม และคุณภาพที่ไม่ดี แฟมิคอมจึงได้รับการออกแบบใหม่เมื่อนำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดตะวันตก แห่งแรก ต่อมาในปีเดียวกันเขาได้เปลี่ยนช่องคาร์ทริดจ์โดยปลี่ยนเป็นแบบโหลดด้านหน้าเพื่อเลียนแบบช่องใส่เทปของVCR และเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดไฟฟ้าสถิตในสภาพอากาศที่แห้งกว่า ในขณะเดียวกันNES Zapperถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อดึงดูดความสนใจของชาวอเมริกันในเรื่องการใช้ปืน[20][21] เขาได้เปลี่ยนโฉมนินเท็นโดและคอนโซลตลอดกลาดโดยประสบความสำเร็จแบบถ่มทลายในต่างประเทศด้วยจากนั้น อูเอมูระได้ออกแบบระบบแฟมิคอมดิสก์ ซึ่ง เป็นส่วนเสริมเฉพาะสำหรับเครื่องแฟมิคอมที่เล่นเกมบนฟล็อปปี้ดิสก์[22]

ในปีค.ศ. 1988 อูเอมูระเริ่มออกแบบซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งเป็นเครื่องรุ่นต่อจากฟามิคอมแบบ 16 บิต ซึ่งจะมีการสาธิตให้สื่อมวลชนญี่ปุ่นได้เห็น[23][24] ต่อเขาและทีมของเขาได้ทำงานร่วมกับKen Kutaragiวิศวกรจากโซนี่ ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ ชิปเสียงของระบบ และจะกำลังพัฒนาเพลย์สเตชันในเวลาต่อมา [25][26]โดยเปิดตัวครั้งแรกในญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1990 โดยจะตั้งชื่อว่า Super Nintendo Entertainment System ในปี ค.ศ. 1995 ทีมงานของเขาก็ได้เปิดตัว Satellaviewซึ่งเป็นส่วนเสริมสำหรับ Super Famicom ที่ให้ผู้เล่นดาวน์โหลดเนื้อหาผ่านการออกอากาศผ่านดาวเทียม[27]

ในช่วงเวลาที่ เขาอยู่ที่ นินเท็นโด เขายังผลิตวิดีโอเกมด้วย เช่นNational Videogame Museum Clu Clu Land , Ice Climber และ Marvelous: Mōhitotsu no Takarajima[28]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาซายูกิ อูเอมูระ https://web.archive.org/web/20151204063258/http://... https://web.archive.org/web/20211205173218/https:/... https://web.archive.org/web/20051124042223/http://... http://www.booksfromjapan.jp/authors/item/2564-mas... https://imidas.jp/hotkeyperson/detail/P-00-102-02-... https://www.asahi.com/ajw/articles/14499620 http://archive.j-mediaarts.jp/en/festival/2015/ach... https://www.ndw.jp/post-714/ https://www.theverge.com/2015/10/18/9554885/ninten... https://www.kotaku.com.au/2015/02/the-gun-game-tha...